สาวๆ มาเช็กกันเราถึงวัยหมดประจำเดือนแล้วรึยัง?! หลายคนอาจรู้จักคำว่า “วัยหมดประจำเดือน” แต่ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับช่วงวัยนี้มากนัก ซิสก็พร้อมมาให้คำตอบกันในบทความนี้ และนอกจากการที่ประจำเดือนจะหมดไปในวัยนี้แล้ว วัยนี้ก็เป็นอีกช่วงการเปลี่ยนผ่านของสุขภาพร่างกายอีกด้วย!
อายุเท่าไหร่ถึงจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
จะเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือที่เรียกว่าวัยทอง ในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยสามารถสังเกตได้จากสุขภาพ หรืออาการต่างๆ ที่อาจไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น อาการร้อนวูบวาบ หรืออาการหลง ลืม และอาจมีภาวะทางจิตใจร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า กังวล หรือหงุดหงิด เป็นต้น
วัยหมดประจำเดือน คืออะไร ?
วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง เป็นภาวะทางธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ที่ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยในผู้หญิง ร่างกายจะผลิตไข่จากรังไข่น้อยลง และมีระดับฮอร์โมนที่ไม่คงที่
ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศน้อยลง (ฮอร์โมนโปรเจสตินและฮอร์โมนเอสโตรเจน) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ผู้หญิงทุกคนจะมีประจำเดือนน้อยลง หรือไม่มีประจำเดือนมาอีกต่อไป โดยเมื่อไม่มีประจำเดือนติดต่อกันนาน 12 เดือน ก็จะนับว่าสาวๆ เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนอย่างสมบูรณ์แบบนั่นเอง

โดยวัยหมดประจำเดือนจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
3 ช่วงของวัยหมดประจำเดือน
- ช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน
ช่วงเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งในช่วงแรกร่างกายบางส่วนจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนจะมาช้าผิดปกติ หรือขาดประจำเดือนไป และฮอร์โมนเริ่มไม่สมดุล ทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น
อาการเริ่มต้นในวัยหมดประจำเดือน
- ช่องคลอดเริ่มแห้ง ไม่ชุ่มชื่น
- มีอาการร้อนวูบวาบ และมีเหงื่อไหลในตอนกลางคืน
- อารมณ์สวิง มีสภาพจิตใจที่อ่อนไหวมากขึ้น
- มีอาการหลงลืมง่าย ๆ แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ
- รู้สึกปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดตามข้อต่อ
- ช่วงวัยหมดประจำเดือน
เมื่อไม่มีประจำเดือนมา 1 ปี ก็จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเต็มรูปแบบ โดยรังไข่จะหยุดผลิตไข่ถวาร ทำให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป และฮอร์โมนเพศจะลดลงมากจนส่งผลต่อร่างกาย ซึ่งจะมีอาการคล้ายกับในช่วงเริ่มของวัยหมดประจำเดือน แต่อาการจะหนักกว่าและอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรค และภาวะต่างๆ มากขึ้น
โรค และภาวะที่มักพบในวัยหมดประจำเดือน
- ภาวะช่องคลอดแห้ง
- โรคเบาหวาน
- โรคไขมันในเลือดสูง
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด
- โรคกระดูกพรุน
- ช่วงวัยหลังหมดประจำเดือน
ในช่วงหลังหมดประจำเดือน ฮอร์โมนในช่วงนี้จะคงที่มากขึ้น และร่างกายก็จะปรับตัวกับสภาวะใหม่ ทำให้อาการในช่วงวัยหมดประจำเดือนดีขึ้น เช่น อาการร้อนวูบวาบจะหายไป หลับได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
แต่อาจมีปัญหาของสุขภาพอื่นๆ แทน แม้ร่างกายจะปรับตัวตามความคงที่ของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงแล้ว แต่ก็ยังมีภาวะขาดแคลเซียม ไขมันในเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคได้
ดูแลตัวเองในวัยหมดประจำเดือน
- พักผ่อนให้เพียง รักษาโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)
- กินอาหารที่มีประโยชน์ และครบทุกหมู่ โดยเน้นอาหารที่มีแคลเซียมสูง ไขมันต่ำ
- ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต
- ธัญพืช และถั่ว (ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว)
- ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน
- นม โยเกิร์ต (ไขมันต่ำ)
- ผลไม้ตามฤดูกาล
- เสริมวิตามินให้ร่างกาย ดี บี12 ซี เอ อี และแมกนีเซียม
- ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะ รำมวยจีน หรือวิ่งเหยาะ ๆ
ทั้งนี้วัยหมดประจำเดือนไม่ใช่โรค หรือภาวะอันตราย เพียงมีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายตามธรรมชาติ โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศที่ผันผวนได้ตลอดเวลา
ฉะนั้นการรักษาฮอร์โมนในวัยนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งก็มีหลากหลายวิธีในการรักษาฮอร์โมนให้คงที่ เช่น กินอาหารปรับสมดุลฮอร์โมน หรือใช้ยาฮอร์โมนทดแทน ก็จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้ค่ะ
และหากสาว ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพผู้หญิง สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ
ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก
แหล่งข้อมูล :
โรงพยาบาลบางปะกอก : วัยทอง 40+ เช็กไว้…รู้ก่อนรับมือได้
โรงพยาบาลสมิติเวช : อาหารสุขภาพสำหรับวัยทอง